ในเศรษฐกิจดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน การบริหารความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk) ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ แต่ถึงอย่างนั้น ไอเดียในเรื่องความเสี่ยงแบบนี้กลับถูกเข้าใจผิดเป็นอย่างมาก

ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์คือความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจของกรรมการที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ขององค์กร

พวกเขาเป็นคนวางแผนธุรกิจที่ซับซ้อนและการบริหารจัดการที่ผิดพลาดอาจส่งผลให้ผลลัพธ์แย่ลงได้ แต่จริงๆ แล้วความเสี่ยงด้านกลยุทธ์คืออะไรกันแน่ และมีผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไร?

ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์คืออะไร?

ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์เกิดจากการตัดสินใจขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ขององค์กร และเป็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการที่ไม่สามารถทำตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ได้

ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์แล้วความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ มีอะไรบ้าง? บ่อยครั้งที่ความเสี่ยงดังกล่าวจะแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่ ความเสี่ยงด้านธุรกิจและความเสี่ยงที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจ โดยความเสี่ยงด้านธุรกิจมาจากการตัดสินใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการขององค์กร โดยครอบคลุมถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการโฆษณาผลิตภัณฑ์หรือบริการเหล่านั้น ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการขายและต้นทุนของผลิตภัณฑ์ และความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อการขายและการผลิต

ในทางกลับกัน ความเสี่ยงที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจไม่ได้มาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการขององก แต่อาจรวมถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับแหล่งเงินทุนในระยะยาวที่ใช้ โดยระดับความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์เหล่านี้ถูกกำหนดโดยวิธีวางตำแหน่งขององค์กรที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม รวมถึงการเคลื่อนไหวของคู่แข่งและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

ประเภทของความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ทั่วไปที่คุณต้องรู้

มีประเภทความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ทั่วไปมากมายที่ธุรกิจควรทราบและวางแผนเอาไว้ รวมถึงความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลง ความเสี่ยงด้านข้อบังคับ ความเสี่ยงด้านชื่อเสียง และความเสี่ยงด้านการกำกับดูแล

ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลง

ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงคือความเสี่ยงโดยธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงโมเดลธุรกิจ แพลตฟอร์ม กลยุทธ์การตลาด ผลิตภัณฑ์ หรือเกือบทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ในภูมิทัศน์ดิจิทัลที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาของเรา การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และความสามารถในการปรับตัวของธุรกิจก็ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก

ไม่ว่าจะเป็นการปรับใช้ซอฟต์แวร์ใหม่หรือการเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงนำมาซึ่งความเสี่ยง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้ว่าคุณกำลังเสี่ยงกับอะไรเมื่อคุณทำการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญใดๆ เพื่อให้คุณสามารถเตรียมพร้อมรับมือได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือคุณต้องไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง เพราะเป็นส่วนสำคัญของความก้าวหน้าและการคงไว้ซึ่งความสามารถในการแข่งขันในตลาด

ความเสี่ยงด้านข้อบังคับ

ความเสี่ยงด้านข้อบังคับคือภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นจากข้อบังคับ (หรือการบังคับใช้ข้อบังคับใหม่) ซึ่งอาจขัดขวางการดำเนินธุรกิจ สร้างความรับผิดชอบใหม่ หรือสร้างความต้องการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ ความเสี่ยงเหล่านี้อาจรวมถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ของคุณเล็กน้อยไปจนถึงเรื่องค่าธรรมเนียม หรือแม้แต่อาจเกิดคดีความร้ายแรงได้เลยทีเดียว

การบังคับใช้ข้อบังคับอาจหันเหความสนใจของผู้นำธุรกิจจากการดำเนินธุรกิจหลักของตน เนื่องจากต้องวางกระบวนการกำกับดูแลและมาตรการควบคุมใหม่ สิ่งสำคัญคือต้องคำนึงถึงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงด้านข้อบังคับที่ไม่จำเป็นต่อองค์กร

ความเสี่ยงด้านชื่อเสียง

ความเสี่ยงด้านชื่อเสียงเป็นภัยร้ายที่สามารถก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงของบริษัทได้ ชื่อเสียงของบริษัทถือเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดอย่างหนึ่ง และความเสียหายใดๆ ต่อบริษัทอาจนำไปสู่การสูญเสียครั้งใหญ่ได้

ความเสี่ยงนี้อาจเกิดจากสถานการณ์ต่างๆ เช่น การละเมิดข้อมูล การปฏิบัติที่ผิดจรรยาบรรณ หรือการบริการลูกค้าที่แย่

ความเสี่ยงด้านการกำกับดูแล

ความเสี่ยงด้านการกำกับดูแลหมายถึงความเสี่ยงที่เกิดจากกระบวนการกำกับดูแล ความเสี่ยง และการไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในองค์กร

ซึ่งรวมถึงทุกอย่างตั้งแต่การจัดการข้อมูลที่ไม่เพียงพอไปจนถึงการขาดการควบคุมภายใน และอาจมีผลกระทบร้ายแรงต่อบริษัทหากไม่มีการบริหารความเสี่ยงองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ

อธิบายความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ด้วยตัวอย่าง

ตัวอย่างความเสี่ยงในองค์กรต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงด้านกลยุทธ์และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น:

ตัวอย่างที่ 1 – ความเสี่ยงด้านการกำกับดูแลและการเปลี่ยนแปลง – กล้อง Kodak

การที่ Kodak ร่วงลงมาจากบริษัทกล้องอันดับต้นๆ ถือเป็นตัวอย่างที่เจ็บปวดของความเสี่ยงด้านการกำกับดูแล Kodak ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมการถ่ายภาพและเทคโนโลยี กลับพบว่าตัวเองจวนจะล้มละลายเนื่องจากไม่สามารถยอมรับการปฏิวัติทางดิจิทัลได้ทัน

บริษัทกล้องโกดักน่าแปลกที่ Kodak เป็นผู้บุกเบิกด้านการถ่ายภาพดิจิทัล แต่การพึ่งพาตลาดฟิล์มมากเกินไปและความกลัวที่จะคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในการทดแทนกล้องฟิล์มล้วนทำให้เกิดความเฉื่อยเชิงกลยุทธ์

บริษัทไม่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจCanvasให้เข้ากับยุคดิจิทัลได้ โดยยังคงเชื่อว่าการถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์มจะยังคงมีความโดดเด่นอยู่เสมอ โดยไม่สนใจความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัล

โลกเปลี่ยนเข้าสู่ยุคกล้องดิจิตอล และต่อมาสู่ยุคสมาร์ทโฟน ในขณะที่ Kodak ยังคงมุ่งเน้นไปที่การขายกล้องฟิล์มแบบเดิมๆ ผู้บริหารของ Kodak อาจกังวลมากเกินไปในเรื่องความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลง และตัดสินใจที่จะมุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยีเก่าที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้ผลดี แทนที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ขึ้นมา

จนกระทั่งปี 2012 เมื่อ Kodak ได้ล้มละลายเพื่อขอคุ้มครอง บริษัทจึงเริ่มหันมามุ่งเน้นกลยุทธ์ไปที่เทคโนโลยีและบริการดิจิทัล

และในตอนนั้น ทุกอย่างก็สายเกินไปแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลกระทบร้ายแรงของความเสี่ยงด้านการกำกับดูแล และความกลัวความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงที่มากเกินไป

ตัวอย่างที่ 2 – ความเสี่ยงด้านข้อบังคับ – Facebook Meta

Facebook (ปัจจุบันคือ Meta) เป็นตัวอย่างความเสี่ยงด้านข้อบังคับในกลุ่มเทคโนโลยี

โซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่รายนี้ถูกปรับเป็นประวัติการณ์ที่ 176 ล้านบ้านโดยหน่วยงาน Federal Trade Commission (FTC) ในปี 2019 ฐานละเมิดความเป็นส่วนตัวอันเป็นผลจากกรณีทำข้อมูลผู้ใช้รั่วไหลในกรณี Cambridge Analytica

บทลงโทษนี้เป็นผลมาจากหลักปฏิบัติด้านความเป็นส่วนตัวของ Facebook ซึ่งอนุญาตให้บุคคลที่สามเช่น Cambridge Analytics เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้หลายล้านคนโดยไม่ได้รับความยินยอมชัดเจน

Facebook ไม่เพียงแต่ประสบความสูญเสียทางการเงินจำนวนมากเท่านั้น แต่ยังต้องทำการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานความเป็นส่วนตัวใหม่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อรูปแบบธุรกิจและแนวทางปฏิบัติในการดำเนินงาน

นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ยังส่งผลต่อความสามารถของ Facebook ในการกำหนดเป้าหมายโฆษณาให้ได้แม่นยำเหมือนเดิม ซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้

กรณีนี้เน้นย้ำว่าความเสี่ยงด้านข้อบังคับ (หากไม่มีการบริหารความเสี่ยงองค์กรอย่างเหมาะสม) จะสามารถส่งผลกระทบโดยตรงต่อการทำกำไรและชื่อเสียงของบริษัทได้อย่างไรนั่นเอง

ตัวอย่างที่ 3 – ความเสี่ยงด้านชื่อเสียง – Volkswagen

เรื่องอื้อฉาวเรื่องการปล่อยมลพิษของ Volkswagen เมื่อปี 2015 ถือเป็นตัวอย่างเรื่องความเสี่ยงด้านชื่อเสียงตามตำราเลยก็ว่าได้ (ทั้งยังพ่วงความเสี่ยงด้านข้อบังคับมาอีก) โดยผู้ผลิตรถยนต์รายนี้ถูกพบว่ามีการติดตั้งซอฟต์แวร์ในเครื่องยนต์ดีเซล 11 ล้านเครื่องทั่วโลกเพื่อที่จะโกงผลทดสอบการปล่อยมลพิษ

การหลอกลวงนี้ไม่ใช่แค่อุบัติเหตุในการดำเนินงานเท่านั้น แต่ยังเป็นการหลอกลวงหน่วยงานกำกับดูแลและลูกค้าให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของบริษัท ผู้บริหารของ Volkswagen เพิกเฉยต่อความเสี่ยงด้านชื่อเสียงและกฎระเบียบของการตัดสินใจครั้งนี้ เพียงเพื่อเพิ่มยอดขายให้กับเครื่องยนต์ดีเซลที่ไม่มีประสิทธิภาพเท่านั้น

ผลที่ตามมาเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและโหดร้าย โดยชื่อเสียงของ Volkswagen ในฐานะผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือได้ถูกทำลายลง ส่งผลให้ยอดขายลดลงอย่างมาก รวมถึงราคาหุ้นที่ดิ่งลง

ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบ เมื่อรวมกับค่าปรับและการประนีประนอมทางกฎหมาย รวมแล้วเป็นเงินมูลค่าหลายแสนล้านบาท เรื่องอื้อฉาวนี้ยังทิ้งร่องรอยที่ไม่มีทางลบออกให้กับแบรนด์ Volkswagen แสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่กว้างขวางของความเสี่ยงด้านชื่อเสียง

ตัวอย่างที่ 4 – ความเสี่ยงด้านการกำกับดูแล – Enron

การล้มละลายของบริษัทพลังงาน Enron ในปี 2001 ยังคงเป็นหนึ่งในตัวอย่างของความเสี่ยงด้านการกำกับดูแลที่น่าอับอายที่สุดก็ว่าได้

ฝ่ายบริหารของ Enron ใช้หน่วยงานที่มีจุดประสงค์แฝงเพื่อซ่อนหนี้และเพิ่มผลกำไร พร้อมวาดภาพของบริษัทที่ทำกำไรได้สูง

เมื่อเรื่องจริงถูกเปิดเผย บริษัทก็สลายหายไปในอากาศ นำไปสู่การล้มละลายครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา โดยผู้ถือหุ้นของ Enron สูญเสียเงินมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท และความเชื่อมั่นของบริษัทในอเมริกาก็ได้รับผลกระทบอย่างมาก

การล่มสลายของ Enron แสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของความเสี่ยงด้านการกำกับดูแล โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการมีโครงสร้างการกำกับดูแลกิจการที่มั่นคง รวมถึงความโปร่งใสและการควบคุมภายในที่แข็งแกร่ง

วิธีการบริหารความเสี่ยงองค์กรให้เหมาะสมคืออะไร?

วิธีการบริหารความเสี่ยงองค์กรให้เหมาะสมจำเป็นต้องมีการระบุและทำความเข้าใจความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และการใช้มาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบดังกล่าว

กระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ เช่น การเลี่ยงความเสี่ยง, การยอมรับหรือการรักษาความเสี่ยง, การถ่ายโอนความเสี่ยง, การลดความเสี่ยง, การจัดการความเสี่ยงของบุคคลที่สาม, และการกระจายความเสี่ยง

ตัวอย่างเช่น Facebook อาจบังคับใช้มาตรการความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่เข้มงวดมากขึ้น (การลดความเสี่ยง) เพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับจำนวนมาก

ในทำนองเดียวกัน Volkswagen ก็สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานการปล่อยมลพิษ (การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง) ได้ ซึ่งเป็นการกำจัดความเสี่ยงด้านชื่อเสียงและข้อบังคับ

เช่นเดียวกับ Enron ที่อาจใช้วิธีการที่โปร่งใส ถูกกฎหมาย และมีจริยธรรม โดยหลีกเลี่ยงความสูญเสียครั้งใหญ่และปัญหาทางกฎหมายที่ตามมาด้วยการล้มละลาย

สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือการจัดการความเสี่ยงไม่ใช่แค่การหลีกเลี่ยงความสูญเสียเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวกับการทำให้เกิดการเติบโตอีกด้วย

เมื่อมีการจัดการความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ บริษัทที่สามารถจัดการได้อย่างเหมาะสมก็จะอยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่าในการคว้าโอกาสที่คู่แข่งอาจมองว่ามีความเสี่ยงสูงเกินไป

ดังนั้นบริษัทจึงต้องมองว่าการบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนสำคัญในการวางแผนเชิงกลยุทธ์นั่นเอง

ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์มีความสำคัญแค่ไหน?

ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กรใดๆ ทั้งยังช่วยระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นก่อนที่จะกลายเป็นปัญหา ทั้งยังทำให้สามารถบริหารจัดการเชิงรุกได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

ตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นถึงผลเสียที่ตามมาของการไม่ให้ความสนใจในความเสี่ยงด้านกลยุทธ์

ด้วยการจัดการความเสี่ยงเหล่านี้อย่างเหมาะสม ธุรกิจสามารถปกป้องทรัพย์สินของตัวเอง ปรับปรุงกระบวนการตัดสินใจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาด

โดยสรุป การบริหารความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ไม่ใช่แค่การป้องกันผลเสียที่อาจเกิดขึ้นเท่านั้น แต่ยังสร้างความยืดหยุ่นเชิงกลยุทธ์ในการคว้าโอกาสที่มาพร้อมกับความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลงได้อีกด้วย

การไม่ให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงองค์กรอาจส่งผลร้ายแรงให้กับองค์กร ในขณะที่การจัดความเสี่ยงที่ดีจะสามารถนำไปสู่การเติบโตและความสำเร็จที่ยั่งยืนได้นั่นเอง