วิธีสัมภาษณ์คน เทคนิคการสัมภาษณ์คน

การเปิดธุรกิจหรือบริษัทนั้นเลี่ยงไม่ได้ที่จะข้องเกี่ยวกับการจ้างพนักงานในบางจุด คุณอาจเคยมีประสบการณ์ในด้านนี้มาก่อนหรืออาจยังใหม่กับหลักการสัมภาษณ์งาน แต่ไม่ว่าจะแบบไหน คุณจะต้องแน่ใจก่อนว่าคุณมีทักษะและความรู้เพียงพอในการดำเนินการสัมภาษณ์ให้ประสบผลสำเร็จ แน่นอนว่าต้องใช้ทักษะมากมาย เช่น การฟังอย่างตั้งใจ การถามคำถามที่เหมาะ ไหวพริบในการถามข้อมูลเพิ่มเติม ไปจนถึงทักษะการคาดการณ์และตีความกิริยาท่าทางของผู้ให้สัมภาษณ์

ก่อนเริ่มสัมภาษณ์ใดๆ คุณควรวางแผนและจัดโครงสร้างกระบวนการทั้งหมดก่อน เพื่อให้ตัวคุณเองและผู้ให้สัมภาษณ์ได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด การสัมภาษณ์ที่มีการวางแผนมาไม่ดีนั้นไม่ได้แค่สร้างความหงุดหงิดและไม่สบายใจให้กับทั้งคนสัมภาษณ์และคนถูกสัมภาษณ์เท่านั้น แต่คุณอาจจะไม่ได้รับข้อมูลที่คุณต้องการอีกต่างหาก มั้งยังอาจถูกมองว่าไม่เป็นมืออาชีพและไม่มีประสบการณ์ ซึ่งส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์การสัมภาษณ์หรือแม้แต่บริษัทที่จะมองคุณไม่ดีอีกด้วย เพื่อสร้างประสบการณ์การสัมภาษณ์ที่ดีและประสบผลสำเร็จ เราก็ได้รวบรวมเคล็ดลับและวิธีสัมภาษณ์คนเพื่อช่วยพัฒนาทักษะของคุณเอาไว้เรียบร้อย…

การเตรียมตัว

  • ใช้เวลาอ่านประวัติย่อของผู้สมัครหรือแบบฟอร์มใบสมัครก่อนการสัมภาษณ์ถือเป็นหนึ่งในเทคนิคการสัมภาษณ์คน
  • เปรียบเทียบ CV กับรายละเอียดงานและข้อมูลจำเพาะบุคคล เพื่อให้เข้าใจถึงข้อกำหนดของงานอย่างละเอียดที่สุด และวิเคราะห์ความเหมาะสมของผู้สมัคร ตลอดจนข้อมูลทุกส่วนของ CV ที่ต้องการคำอธิบายเพิ่มเติม
  • เลือกและจัดเตรียมสถานที่ที่เหมาะสมต่อการสัมภาษณ์ให้ประสบผลสำเร็จและมีความสะดวกสบาย พิจารณาถึงความง่ายในการเข้าใช้ห้อง การจัดที่นั่ง และสภาพแวดล้อมโดยรวม
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้สมัครได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่พวกเขาต้องการเกี่ยวกับงาน บริษัท การสัมภาษณ์ และสิ่งที่พวกเขาควรนำมาด้วยในวันนั้น

การวางแผน

  • ห้าม ‘ด้นสด’ !! ใช้เวลาในการวางแผนคําถามสัมภาษณ์งาน HR ที่เหมาะสม
  • คำนึงถึงระยะเวลาที่คุณต้องการใช้ในการสัมภาษณ์
  • ใครไม่รู้ว่าสัมภาษณ์งานควรถามอะไรบ้าง? เราอยากให้กำหนดรายการคำถามที่ครอบคลุม ทั้งคำถามทั่วไปและสำหรับผู้สมัครแต่ละคน และคิดถึงการเรียงลำดับคำถามเหล่านี้ โดยการสัมภาษณ์ควรดำเนินไปอย่างลื่นไหล เป็นไปอย่างเป็นธรรมชาติ และมีเหตุผลที่สุด
  • เริ่มต้นด้วยการแนะนำตัว ทักทายแบบไม่เป็นทางการ และทำให้บรรยากาศผ่อนคลาย ซึ่งจะช่วยให้ผู้สมัครรู้สึกโล่งและสบายใจ อธิบายให้ผู้สัมภาษณ์ทราบว่าพวกเขาควรคาดหวังอะไรในระหว่างการสัมภาษณ์และสิ่งที่คุณต้องการให้บรรลุ พูดถึงประสบการณ์ของผู้สมัครและความเหมาะสมกับตำแหน่งงาน โดยถามคำถามแบบปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้ได้รับคำตอบที่มีรายละเอียดมากขึ้น และเพื่อให้เข้าใจถึงความรู้ ประสบการณ์ บุคลิกภาพ และทัศนคติของผู้สมัคร
  • จบการสัมภาษณ์โดยเปิดโอกาสให้ผู้สมัครถามคำถามและแจ้งให้พวกเขาทราบถึงผลการสัมภาษณ์

การฟัง

ถึงจะดูเหมือนว่าต้องใช้อยู่แล้ว แต่การ ‘รับฟัง’ ใครสักคนนั้นถือว่ามีความแตกต่างอย่างมากจากการได้ยินและเข้าใจสิ่งที่คนๆ  หนึ่งกำลังพูดอย่างสิ้นเชิง เพราะต้องใช้สมาธิ ไม่ว่อกแว่ก และการฟังอย่างกระตือรือร้นเพื่อที่จะเข้าใจและเก็บข้อมูลที่ได้รับมา โดยข้อกำหนดหลักของการฟังอย่างมีประสิทธิผลประกอบไปด้วย:

  • ตระหนักถึงคำตอบที่ได้จากกิริยาท่าทางของทั้งคุณและของผู้สมัคร
  • พิจารณาวิธีการตอบคำถามของผู้ให้สัมภาษณ์และคำพูดที่ใช้ เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจสิ่งที่กำลังพูด วิธีการพูด แม้แต่เรื่องที่ผู้สมัครอาจไม่ได้พูด
  • การตอบด้วยคำถามที่ผ่านการไตร่ตรองหรือคำตอบที่ผู้สมัครได้รับ
  • สนใจและมีส่วนร่วมในสิ่งที่ผู้สมัครพูด
  • สบตาและจดจ่ออยู่กับผู้สมัคร อย่าปล่อยให้ใจลอยหรือเผลอไปจดจ่ออยู่กับเรื่องอื่นเด็ดขาด
  • ไม่ขัดจังหวะผู้ให้สัมภาษณ์เว้นแต่มีความจำเป็นจริงๆ
  • ขอคำชี้แจงหากคุณไม่แน่ใจในคำตอบที่ได้รับ
  • สรุปคำตอบเพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจถูกต้อง

การสื่อสารโดยไม่ใช้ถ้อยคำ

การใช้คำถามคัดคนอย่างเดียวคงไม่พอ การสื่อสารโดยไม่ใช้ถ้อยคำหรืออวัจนภาษาใช้กับทั้งผู้ให้สัมภาษณ์และผู้สัมภาษณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารอย่าง Albert Mehrabian เชื่อว่าการสื่อสารแบบเห็นหน้าส่วนใหญ่จะใช้น้ำเสียงและภาษากายของเราเอง โดยมีเพียง 7% เท่านั้นที่มาจากถ้อยคำ จึงเป็นเรื่องมากที่คุณจะต้องระบุและเข้าใจการสื่อสารด้วยอวัจนภาษาของผู้สมัคร และต้องเข้าใจว่าคุณอาจสื่อความหมายว่าอะไรด้วย พิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้:

  • การสบตา – พวกเขามีส่วนร่วมหรือเปล่า ตามองพูด หรือจ้องไปที่อื่นหรือไม่?
  • ตำแหน่งของร่างกาย
  • การแสดงออกทางสีหน้า – แสดงออกน้อยหรือเปล่า?
  • พวกเขาใช้เวลาในการพิจารณาคำถามก่อนตอบหรือไม่?
  • น้ำเสียงของพวกเขาฟังดูสงบและผ่อนคลายหรือไม่ หรือดูประหม่าเมื่อพูดในโทนเสียงต่างๆ พูดตะกุกตะกัก หรือพูดพึมพำไหม?
  • พวกเขาล่อกแล่กหรือมือสั่นหรือไม่? – อาจเป็นเพราะเส้นประสาท
  • พวกเขากอดอกหรือไม่? – ภาษากายแบบนี้มักถูกมองว่าเป็นการป้องกันตัว แต่สำหรับบางคน การนั่งกอดอกที่โต๊ะอาจถือเป็นท่าที่นั่งได้สบายเฉยๆ ก็ได้ คุณควรพิจารณาถึงอุณหภูมิห้องหรือสภาพแวดล้อมโดยรอบว่ามีความสบาย ผ่อนคลาย และต้อนรับผู้ให้สัมภาษณ์หรือไม่ บางครั้งพวกเขาอาจแค่ป้องกันตัว แต่คุณควรจำไว้ว่าบุคคลนั้นมักจะมีความประหม่าสูง คุณจึงควรพยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้พวกเขารู้สึกสบายใจ

สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าทุกคนนั้นแตกต่างและกิริยาอาจไม่ได้บ่งบอกถึงสิ่งที่คุณกำลังคิดในตอนแรกเสมอไป คุณควรทำความรู้จักกับผู้สมัครให้ดีขึ้นด้วยวิธีตั้งคำถามสัมภาษณ์เพิ่มเติม ซึ่งอาจช่วยให้คุณเข้าใจผู้ให้สัมภาษณ์ได้ดีขึ้นและช่วยให้คุณตัดสินพวกเขาได้แม่นขึ้นด้วย สิ่งสำคัญคือต้องพิจารณาความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่อาจมีส่วนต่อภาษากายด้วยเหมือนกัน

กิริยาท่าทางขังตัวเอง

ในขณะที่คุณเป็นคนสัมภาษณ์ ผู้สมัครก็กำลังตัดสินใจด้วยตนเองเกี่ยวกับตัวคุณและบริษัทเหมือนกัน เพียงเพราะมีคนมาสมัครงานและเข้ารับการสัมภาษณ์นั้นไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะรับงานถ้าผ่านสัมภาษณ์ พวกเขาจะพิจารณาถึงความประทับใจที่คุณสร้างไว้ และจะมีความสุขที่ได้ทำงานให้คุณและบริษัทหรือไม่

  • พัฒนาความสัมพันธ์ด้วยความจริงใจ เป็นกันเอง และเป็นมิตร
  • เตรียมพร้อม ประณีต และเป็นมืออาชีพ
  • ระวังการสื่อสารด้วยอวัจนภาษา – สบตาและคิดถึงภาษากายของคุณเอง
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้สมัครได้รับแจ้งอย่างครบถ้วนเกี่ยวกับหน้าที่และบริษัททั้งก่อนและตลอดการสัมภาษณ์
  • สร้างความประทับใจที่ดีให้กับบริษัท
  • อย่าพูดเยอะเกิน
  • พยายามทำให้ดูเป็นการข่มขู่และดูหยาบคาย – คงไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติม การทำแบบนี้ไม่ใช่สิ่งที่ยอมรับได้ในสังคมทุกวันนี้!

และทั้งหมดก็คือวิธีสัมภาษณ์พนักงานใหม่ที่ครอบคลุมทุกอย่างที่ควรรู้ ถึงเวลานำใช้จริงและเตรียมตัวสำหรับการเป็นคนที่เข้าใจถึงวิธีสัมภาษณ์คนอย่างมืออาชีพกันเลย

บทความนี้ เดิมถูกเผยแพร่บน Rapid Formations Blog และได้รับอนุญาตให้เผยแพร่ซ้ำได้