โลกของการทำงานจะพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือเมื่อเกิดภาวะ Burn Out (อาการหมดไฟในการทํางาน) โดยเมื่อสองสามทศวรรษที่แล้ว เรื่องแบบนี้ถูกมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย อาจเป็นแค่สัญญาณของความอ่อนแอ หรือเป็นเรื่องที่กุขึ้นมาเท่านั้น โดยการศึกษาได้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหาศาลที่เกิดจากอาการหมดไฟของพนักงาน และกลายเป็นที่ยอมรับว่าเป็นภาวะที่ไม่เพียงแต่เกิดขึ้นได้จริงเท่านั้น แต่ยังร้ายแรงอีกด้วย และในเวลาไม่นาน ภาวะ Burnout Syndrome ก็เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น

ปัจจุบันนี้ อาการหมดไฟถือเป็นปัญหาเชิงสถาบันมากกว่าปัญหาส่วนบุคคล และยังได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ว่าเป็นภาวะทางการแพทย์อีกด้วย

แล้วอะไรเป็นสาเหตุของการหมดไฟของพนักงาน และคุณจะป้องกันได้อย่างไร? เรามาดูรายละเอียดว่าภาวะเบิร์นเอาท์คืออะไร ปัจจัยหลักบางข้อที่อาจนำไปสู่ภาวะดังกล่าว และวิธีบรรเทาอาการหมดไฟลงไปกันเลย

อาการหมดไฟมีลักษณะอย่างไร?

อาการหมดไฟเป็นภาวะที่ซับซ้อนซึ่งมักเป็นผลมาจากปัจจัยหลายๆ อย่างที่ทับซ้อนกัน โดยผู้เชี่ยวชาญหลายคนคิดว่าภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวลอาจเป็นปัจจัยเบื้องหลังภาวะนี้ เช่นเดียวกับลักษณะบุคลิกภาพและเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตส่วนตัวของพนักงาน และสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้บริหารที่มีรายได้สูง หรือแม้แต่น้องๆ นักศึกษาฝึกงาน สิ่งสำคัญที่สุดคือ ภาวะเบิร์นเอาท์มักเป็นผลจากสิ่งแวดล้อม ในกรณีนี้คือสถานที่ทำงาน อาชีพที่มีความกดดันสูง เช่น ผู้ดูแล นักดับเพลิง และเจ้าหน้าที่กู้ภัยฉุกเฉินอื่นๆ หรือแม้แต่อาชีพที่มีค่าคอมมิชชั่น (เช่น พนักงานขายหรือนายหน้า) ที่ไม่มีการรับประกันว่าเงินจะได้มากน้อยแค่ไหน ทุกคนจึงมีโอกาสประสบภาวะเบิร์นเอาท์ได้ในอัตราที่สูงมาก

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญอาจไม่เห็นด้วยว่าอะไรที่ทำให้เกิด Burnout Syndrome แต่พวกเขาก็เห็นพ้องต้องกันว่าภาวะดังกล่าวเป็นยังไง โดยอาการหลักของการหมดไฟในการทํางานของพนักงานคือ:

  • ขาดแรงจูงใจ นี่เป็นสัญญาณที่พบบ่อยที่สุด – คนที่มีภาวะอาการหมดไฟจะขาดความต้องการในการเริ่มทำงานหรือขาดความรู้สึกตื่นเต้นกับงานของตัวเอง
  • ขาดสมาธิ จากการทับซ้อนกันกับการขาดแรงจูงใจ อาการหมดไฟอาจทำให้ปัญหาที่มีอยู่รุนแรงมากขึ้นหรืออาจก่อให้เกิดปัญหาใหม่ๆ ได้
  • ความหงุดหงิด คนงานที่หมดไฟในการทํางานจะมีอาการใจร้อน ใจร้อนกับเพื่อนร่วมงานและผู้จัดการ และมีแนวโน้มที่อารมณ์จะระเบิดง่ายขึ้น
  • มีอาการไม่สนโลก คนงานที่ประสบภาวะเบิร์นเอาท์อาจมองว่าความพยายามของตัวเองดูสิ้นหวัง ไม่มีทางออก หรือไร้จุดหมาย ซึ่งอาจจะด้วยเหตุผลที่ดี
  • พลังงานน้อย แม้ว่าคนงานที่มีอาการหมดไฟจะพยายามทำตัวให้มีพลังงานเยอะต่อหน้า แต่ภายในของพวกเขาจะได้รับผลกระทบในใจอย่างต่อเนื่อง
  • การใช้สารเสพติด พนักงานที่มีภาวะเบิร์นเอาท์อย่างรุนแรงมักจะ “รักษาตัวเอง” ด้วยยาหรือแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นแนวทางการรักษาที่มักจะทำให้ทุกอย่างแย่ลงในระยะยาว
  • มีอาการนอนไม่หลับ ความวิตกกังวลที่เกิดจาก Burnout Syndrome อาจทำให้เกิดปัญหาการนอนหลับ ซึ่งอาจส่งผลต่อทุกอย่างตั้งแต่สมาธิ ความผันผวนทางอารมณ์ ไปจนถึงแรงจูงใจ
  • ปัญหาทางกายภาพต่างๆ ในบางกรณี อาการเหนื่อยหน่ายอาจทำให้เกินอาการปวดท้อง ปวดศีรษะ ปวดแปลกๆ อธิบายยาก หรืออาการไม่สบายทางร่างกายโดยทั่วไป

การศึกษาพบว่าภาวะ Burnout Syndrome มักเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้

1. การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่สม่ำเสมอ

พนักงานหลายคนอธิบายว่าการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมในที่ทำงานเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการหมดไฟ ตัวอย่างเช่น ตัวแทนอสังหาริมทรัพย์บางรายที่สร้างอัตราค่าคอมมิชชั่นที่สูงกว่าคู่แข่งอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อขวัญและกำลังใจของนายหน้าคนอื่นๆ การเลือกที่รักมักที่ชัง การเล่นพรรคเล่นพวก การจ่ายค่าตอบแทนที่ไม่สม่ำเสมอ อคติ ทั้งหมดนี้ส่งผลให้พนักงานหมดแรง หงุดหงิด และโกรธเคือง

เมื่อพนักงานคิดว่าสถานที่ทำงานของตนไม่ยุติธรรม พวกเขาจะมีแรงจูงใจน้อยมากที่จะพยายามอย่างจริงจังหรือคาดหวังว่าความพยายามของพวกเขาจะได้รับการยอมรับและได้รับรางวัล

2. การทำงานหนักเกินไป

หากพนักงานได้รับมอบหมายงานมากเกินไป พวกเขาอาจจะหมดไฟและขาดแรงจูงใจได้ง่าย ส่วนหนึ่งของสิ่งนี้กลับไปสู่หลักการของการทำงานอย่างเป็นธรรม: หากพนักงานรู้ว่าพวกเขากำลังทำงานของพนักงานสองคน (หรือมากกว่า) พวกเขาก็จะรู้สึกถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

รวมเข้ากับการขาดความไว้วางใจและข้อเท็จจริงที่โหดร้ายว่าต้องใช้ความพยายามมากขนาดไหนในการแบกรับภาระงานมหาศาล และนั่นก็คือสูตรสำเร็จที่ทำให้เกิดอาการเบิร์นเอาท์ได้

3. มีกำหนดส่งงานที่กระชั้นชิดเกินไป

การไม่มีเวลาเพียงพอในการทำงานให้เสร็จ และการถูกบังคับให้ทำงานล่วงเวลาหรือทำงานเร็วขึ้นสองเท่า อาจทำให้พนักงานเกิดความเครียดได้อย่างมาก ที่แย่กว่านั้นก็คือความเครียดที่สะสมมาจากกำหนดส่งงาน และเมื่อถึงขีดจำกัดก็จะก่อให้เกิดภาวะหมดไฟในการทํางาน

4. การสื่อสารที่แย่จากผู้บริหาร

พนักงานต้องรู้สึกว่าได้รับข้อมูลและได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร ไม่เช่นนั้น ความคลุมเครือที่เกิดขึ้นอาจนำไปสู่ความวิตกกังวล ความเครียด และความข้องใจ หากไม่มีการสื่อสารที่เป็นประโยชน์จากผู้บริหารเกี่ยวกับเป้าหมายและความรับผิดชอบในที่ทำงาน พนักงานก็จะเริ่มสงสัยว่าผู้จัดการของตัวเองจะสนับสนุนพวกเขาหรือไม่ และผลงานของพวกเขาเป็นไปตามมาตรฐานที่ผู้บริหารไม่ได้พูดถึงหรือเปล่า

การสื่อสารที่เปิดเผยถือเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างมากกับผู้จัดการในปัจจุบัน ด้วยจำนวนพนักงาน Work From Home ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากนั่นเอง

5. หน้าที่ที่ไม่ชัดเจน

พนักงานที่เข้าใจหน้าที่ของตัวเองและสิ่งที่คาดหวังจากพวกเขาจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรู้สึกมั่นใจในการปฏิบัติงานนั้น ในทางกลับกัน พนักงานที่ไม่มีบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจนมักสงสัยว่าจะต้องทำยังไงและงานของตัวเองจะออกมาน่าพอใจหรือไม่ ความคลุมเครือแบบนี้เป็นอะไรที่น่าหงุดหงิดมาก และความเครียดและความวิตกกังวลที่ตามมาคืออาการหมดไฟที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

วิธีป้องกันอาการหมดไฟ

ความคิดเห็นส่วนใหญ่เกี่ยวกับ Burnout Syndrome สรุปได้ว่าเป็นปัญหาส่วนรวมพอๆ กับปัญหาส่วนบุคคล แน่นอนว่าไม่ใช่ที่พนักงานคนใดคนหนึ่งจะเกิดภาวะเบิร์นเอาท์ได้ง่าย และไม่เกี่ยวว่าจะต้องเป็นสถานที่ทำงานใดที่หนึ่งเท่านั้นที่ส่งผลให้พนักงานเกิดอาการหมดไฟ

เมื่อคุณดูสาเหตุหลักของภาวะหมดไฟในการทํางานให้ดีๆ ส่วนใหญ่ก็มักจะเกิดมาจากทางฝ่ายผู้บริหาร การปฏิบัติต่อพนักงานอย่างสม่ำเสมอและเป็นธรรม การให้ปริมาณงานและกำหนดเวลาที่เหมาะสม การรักษาการสื่อสารที่เปิดกว้าง และการกำหนดบทบาทหน้าที่ของพนักงาน ทั้งหมดนี้อยู่ในอำนาจของฝ่ายผู้บริหาร ที่สำคัญกว่านั้น อาการหมดไฟถือเป็นความรับผิดชอบที่สำคัญที่สุดของฝ่ายผู้บริหารทุกคน ในบริบทที่อัตราการเกิดอาการหมดไฟของพนักงานที่เพิ่มขึ้นแบบนี้

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำได้ง่ายๆ การลดความเครียดของพนักงานอาจเกี่ยวข้องกับอะไรก็ได้ ตั้งแต่การปรับปรุงรูปแบบการบริหารจัดการไปจนถึงการปรับระดับเสียงรบกวนและแสงสว่างในพื้นที่ทำงาน เหมือนกันกับปัญหาอื่นๆ แม้ว่าสาเหตุของการหมดไฟนั้นจะหาต้นตอได้ยาก แต่เมื่อป้องกันได้แล้วก็จะถือเป็นประโยชน์มหาศาลอย่างแน่นอน