อินเดียกำลังมองหาฉันทามติเกี่ยวกับโอกาสด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการลดความเสี่ยงในการประชุมสุดยอดความปลอดภัยปัญญาประดิษฐ์โลก (GPAI)
Vaishnaw รัฐมนตรีกระทรวงไอที เน้นย้ำถึงฉันทามติทั่วโลก เกี่ยวกับศักยภาพ ประโยชน์ และความเสี่ยงของ AI เขากล่าวว่า การประชุมสุดยอดนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้สอดคล้องกับมุมมองระหว่างประเทศและข้อตกลงในอดีต โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือ การจัดทำเอกสารที่มุ่งสู่แนวทางความปลอดภัยที่เป็นสากล ก่อนสิ้นสุดการประชุม GPAI ปี 2024
GPAI มุ่งหวังที่จะเชื่อมโยงทฤษฎีและการปฏิบัติด้าน AI เข้าด้วยกันเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในภาคส่วนต่าง ๆ ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 28 ประเทศ และสหภาพยุโรป (EU) โดยไม่มีจีนเข้าเป็นสมาชิกของ GPAI ซึ่งการประชุมที่ผ่านมา จัดขึ้นที่มอนทรีออล ปารีส และโตเกียว
ยุทธศาสตร์ของอินเดียในการประชุมสุดยอด GPAI
Vaishnaw กล่าวว่า การประกาศ GPAI มี 2 ประเด็นที่เน้นจุดยืนของอินเดียเกี่ยวกับ AI
ประการแรก คือ การประเมินการใช้ AI ด้านเกษตรกรรมแบบยั่งยืน โดยเพิ่มหัวข้อ GPAI เช่น การดูแลสุขภาพ การดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ และการสร้างสังคมที่มีความยืดหยุ่น อย่างที่สอง คือ AI ที่ทำงานร่วมกัน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทาง DPI
ก่อนหน้านี้ Indian Express ได้อธิบายแผนการของอินเดีย ในการใช้กลยุทธ์ Digital Public Infrastructure (DPI) สำหรับ AI สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับการสร้างระบบพื้นฐาน รวมถึงฐานข้อมูล และความสามารถในการประมวลผล เพื่อช่วยกระจาย AI ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น อินเดียได้ใช้วิธีการนี้กับโปรแกรมข้อมูลประจำตัว Aadhaar และระบบการชำระเงิน Unified Payments Interface (UPI) แล้ว
The day has arrived when India, as the Lead Chair of GPAI, will host the 3-day #GPAISummit2023; to be inaugurated by Hon. PM @narendramodi at 5 PM.
Visit #BharatMandapam to be a part of the event of a lifetime! @PMOIndia @AshwiniVaishnaw @Rajeev_GoI @abhish18 pic.twitter.com/uSLQuoFjwT
— Digital India (@_DigitalIndia) December 12, 2023
การมีส่วนร่วมของ OpenAI และการกำกับดูแล AI ระดับโลก
ท่ามกลางกฎระเบียบ AI ในระดับโลก การมีส่วนร่วมของบุคคลสำคัญในอุตสาหกรรม AI เช่น Anna Makanju รองประธานฝ่ายกิจการระดับโลกของ OpenAI ได้กล่าวในการประชุมสุดยอด GPAI ว่า:
เราได้เรียนรู้ว่า การพัฒนาโมเดลการกำกับดูแลสำหรับ AI มีความสำคัญเพียงใด เราได้ทำงานร่วมกับฝ่ายบริหารของ Biden และ G7… เราต้องพัฒนาองค์กรระดับนานาชาติ เพื่อให้แน่ใจว่าเทคโนโลยีที่ทรงพลังที่สุดนั้นปลอดภัย และประโยชน์ของเทคโนโลยีถูกใช้อย่างเท่าเทียม
มุมมองของ Makanju มีความเกี่ยวข้องอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของ OpenAI บริษัทซึ่งมีชื่อเสียงในด้าน ChatGPT ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในด้านการเป็นผู้นำ รวมถึงการออกจากตำแหน่งและการกลับมาของ CEO Sam Altman โดยมี Microsoft เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ
ความก้าวหน้าของกฎหมาย AI ระหว่างประเทศ
กฎหมาย AI ทั่วทั้งโลกกำลังได้รับการพัฒนา เมื่อเร็ว ๆ นี้สหภาพยุโรปได้สร้างข้อตกลงเกี่ยวกับพระราชบัญญัติ AI ชั่วคราว โดยกำหนดเกณฑ์ที่ชัดเจนสำหรับการใช้งาน AI โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการบังคับใช้กฎหมาย และอนุญาตให้มีการร้องเรียนการละเมิด โดยกำหนดข้อจำกัดที่เข้มงวด เกี่ยวกับการจดจำใบหน้าและ AI ที่บิดเบือนพฤติกรรมของมนุษย์ โดยมีบทลงโทษที่เข้มงวดสำหรับการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด
เมื่อเดือนที่แล้ว Group 7 (G7) ได้ประกาศกระบวนการฮิโรชิม่า (Hiroshima AI Process) ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การสร้างแนวทางสำหรับการพัฒนา AI ที่ปลอดภัย โดยเน้นที่ความโปร่งใส การจัดการความเสี่ยง และความท้าทายในระดับโลก เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสุขภาพ โดยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ และการพัฒนามาตรฐานอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมศักยภาพของ AI อย่างมีความรับผิดชอบ
นอกจากนี้ องค์การสหประชาชาติ (UN) ยังได้ก้าวขึ้นมามีความสำคัญอีกด้วย โครงการริเริ่มใช้ AI ของสหประชาชาติ นำโดยหน่วยงานที่ปรึกษาระดับสูง ซึ่งมีเป้าหมายที่จะใช้ AI สำหรับความท้าทายในระดับโลก และมีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมุ่งเน้นที่จะเริ่มต้นการอภิปรายระดับโลกเกี่ยวกับการกำกับดูแล AI และการทำความเข้าใจความเสี่ยง เช่น ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และการส่งเสริมการประยุกต์ใช้ AI ในด้านที่สำคัญ ทั้งด้านสาธารณสุขและการศึกษา
ก่อนหน้านี้ สหรัฐฯ ได้ออกคำสั่งฝ่ายบริหารเกี่ยวกับมาตรฐานการกำกับดูแลและความปลอดภัยของ AI ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญของฝ่ายบริหาร Biden เกี่ยวกับกฎระเบียบ AI คำสั่งนี้มุ่งเป้าไปที่ภัยคุกคามที่เกิดจาก AI และเพื่อดูแล ความปลอดภัยของเทคโนโลยี AI เช่น ChatGPT และ Google Bard